มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสถาบันที่สมบูรณ์แบบในบ้านเรา มีความหลากหลายในศาสตร์แขนงต่างๆ และได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย จากสถาบันจัดอันดับระดับโลกหลายสถาบัน อาทิ Time Higher Education (THE) World University Ranking และ Quacquarelli Symonds Asian University Ranking (QS APPLE) เป็นต้น
คุณภาพระดับนี้ แน่นอนว่าน้อง ๆ วัยเรียนทั้งหลาย ต่างต้องการเข้าไปเป็นหนึ่งในสถาบันแห่งนี้ และเมื่อมีคนต้องการเข้าไปมาก แต่ที่นั่งมีน้อย มันก็ต้องจำเป็นต้อง "ออกแรง" อย่างแข็งขันกันหน่อย...
วิถีทางในการมุดเข้าสู่รั้วสถาบันยอดนิยมแห่งนี้มีหลากหลายเส้นทาง ซึ่งวันนี้จะขอย้อนนำข้อมูล "การรับตรง" ในปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา มาให้ศึกษากันว่าแต่ละโครงการมีการรับที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร
ข้อมูลจากการรับตรงปีที่ผ่านมานั้น โครงการต่าง ๆ ของมหิดลจะเริ่มรับสมัครวันที่ 15 สิงหาคม เป็นต้นไป ส่วนในปีการศึกษา 2556 นี้นั้น หากกำหนดการยังคงเป็นเช่นเดิม
ก็จะหมายความว่า น้อง ๆ ยังมีเวลาเหลือเพื่อการเตรียมความพร้อมอีกไม่เกิน 2 เดือนแล้ว...โอ้วววว...มันเร็วมาก
ทีนี้เรามาลองดูข้อมูลการรับในโครงการต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไรกันครับ...
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2555 มี 5 ระบบ ได้แก่
1. ระบบมหิดลโควตา
รับสมัครเฉพาะนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณสมบัติตามที่ระบบโควตากำหนด โดยสมัครกับมหาวิทยาลัยมหิดลโดยตรง และสอบข้อเขียนรับตรงร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และเมื่อผ่านการคัดเลือกมหาวิทยาลัยจะนำเข้าไปในระบบ Clearing House ที่ดำเนินการโดยสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) เพื่อให้ผู้ผ่านการคัดเลือกยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาเพียงแห่งเดียวต่อไป (ดูรายละเอียด)
2. ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบท
ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบทเป็นการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตามความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดลกับกระทรวงสาธารณสุข ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ โดยสมัครและสอบข้อเขียนกับมหาวิทยาลัยมหิดลโดยตรง (ดูรายละเอียด)
3. การคัดเลือกโดย กสพท.
ในปีการศึกษา 2555 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ดำเนินการรับสมัคร และจัดสอบวิชาเฉพาะ และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ดูรายละเอียด)
4. ระบบแอดมิชชันกลาง
การคัดเลือกในระบบแอดมิชชันกลาง ดำเนินการโดยสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ซึ่งรับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ผู้สมัครจะเลือกสมัครหลักสูตรต่างๆ ได้ไม่เกิน 4 อันดับ (ดูรายละเอียด)
5. ระบบรับตรงของคณะ/วิทยาลัย
คณะและวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยมหิดล บางคณะมีหลักสูตรหรือโครงการพิเศษ ที่รับสมัครและคัดเลือกเป็นพิเศษนอกเหนือจากระบบข้างต้น เช่น หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรที่รับผู้มีประสบการณ์วิชาชีพเฉพาะ หรือหลักสูตรที่รับผู้มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านเช่นกีฬา และดนตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยจะประกาศรับสมัครโดยให้แต่ละคณะ/วิทยาลัยดำเนินการคัดเลือกเองทั้งหมด (ดูรายละเอียด)
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรระดับปริญญาโทและเอก
หลักสูตรในระดับปริญญาโท และเอก จะดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกเข้าศึกษาโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ดูรายละเอียดหลักสูตรและการรับสมัครได้จากเว็บเพจของ บัณฑิตวิทยาลัย หรือ คณะ/สถาบัน (ดูรายละเอียด)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คุณภาพระดับนี้ แน่นอนว่าน้อง ๆ วัยเรียนทั้งหลาย ต่างต้องการเข้าไปเป็นหนึ่งในสถาบันแห่งนี้ และเมื่อมีคนต้องการเข้าไปมาก แต่ที่นั่งมีน้อย มันก็ต้องจำเป็นต้อง "ออกแรง" อย่างแข็งขันกันหน่อย...
วิถีทางในการมุดเข้าสู่รั้วสถาบันยอดนิยมแห่งนี้มีหลากหลายเส้นทาง ซึ่งวันนี้จะขอย้อนนำข้อมูล "การรับตรง" ในปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา มาให้ศึกษากันว่าแต่ละโครงการมีการรับที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร
ข้อมูลจากการรับตรงปีที่ผ่านมานั้น โครงการต่าง ๆ ของมหิดลจะเริ่มรับสมัครวันที่ 15 สิงหาคม เป็นต้นไป ส่วนในปีการศึกษา 2556 นี้นั้น หากกำหนดการยังคงเป็นเช่นเดิม
ก็จะหมายความว่า น้อง ๆ ยังมีเวลาเหลือเพื่อการเตรียมความพร้อมอีกไม่เกิน 2 เดือนแล้ว...โอ้วววว...มันเร็วมาก
ทีนี้เรามาลองดูข้อมูลการรับในโครงการต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไรกันครับ...
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2555 มี 5 ระบบ ได้แก่
1. ระบบมหิดลโควตา
รับสมัครเฉพาะนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณสมบัติตามที่ระบบโควตากำหนด โดยสมัครกับมหาวิทยาลัยมหิดลโดยตรง และสอบข้อเขียนรับตรงร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และเมื่อผ่านการคัดเลือกมหาวิทยาลัยจะนำเข้าไปในระบบ Clearing House ที่ดำเนินการโดยสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) เพื่อให้ผู้ผ่านการคัดเลือกยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาเพียงแห่งเดียวต่อไป (ดูรายละเอียด)
2. ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบท
ระบบมหิดลเพื่อชาวชนบทเป็นการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตามความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดลกับกระทรวงสาธารณสุข ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ โดยสมัครและสอบข้อเขียนกับมหาวิทยาลัยมหิดลโดยตรง (ดูรายละเอียด)
3. การคัดเลือกโดย กสพท.
ในปีการศึกษา 2555 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ดำเนินการรับสมัคร และจัดสอบวิชาเฉพาะ และคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ดูรายละเอียด)
4. ระบบแอดมิชชันกลาง
การคัดเลือกในระบบแอดมิชชันกลาง ดำเนินการโดยสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) ซึ่งรับสมัครบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ผู้สมัครจะเลือกสมัครหลักสูตรต่างๆ ได้ไม่เกิน 4 อันดับ (ดูรายละเอียด)
5. ระบบรับตรงของคณะ/วิทยาลัย
คณะและวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยมหิดล บางคณะมีหลักสูตรหรือโครงการพิเศษ ที่รับสมัครและคัดเลือกเป็นพิเศษนอกเหนือจากระบบข้างต้น เช่น หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรที่รับผู้มีประสบการณ์วิชาชีพเฉพาะ หรือหลักสูตรที่รับผู้มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านเช่นกีฬา และดนตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยจะประกาศรับสมัครโดยให้แต่ละคณะ/วิทยาลัยดำเนินการคัดเลือกเองทั้งหมด (ดูรายละเอียด)
การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรระดับปริญญาโทและเอก
หลักสูตรในระดับปริญญาโท และเอก จะดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกเข้าศึกษาโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ดูรายละเอียดหลักสูตรและการรับสมัครได้จากเว็บเพจของ บัณฑิตวิทยาลัย หรือ คณะ/สถาบัน (ดูรายละเอียด)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับน้องที่ต้องการ เรียนพิเศษตัวต่อตัว กรุงเทพและปริมณฑล คลิกเลย!!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็น