ตามลิงค์นะครับ
http://www.cuas.or.th/document/brochouradm56.pdf
องค์ประกอบและค่าน้ำหนัก Admissions 56
การเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกๆ ปี และด้วยเส้นทางในการเดินเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนไปนี้เอง ทำให้แค่เรียนเก่งยังไม่พอ แต่ต้องวางแผนเก่งอีกด้วย...แน่นอน อาจมีหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมจะเข้ามหาวิทยาลัยต้องวางแผนด้วย คำตอบง่ายมาก นั่นเพราะปัจจุบันเป็นยุคที่จำนวนโครงการรับตรงมีมาก และเมื่อการสอบมีมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือ การอ่านหนังสือไม่ทันนั่นเอง
ฉะนั้น จึงต้องมีการวางแผนการสอบในยุคที่มีการรับตรงสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีการ Admissionsเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
โดยองค์ประกอบในการสอบก็เป็นไปตามตารางข้างบนโดยจะมีการสอบ 2 ครั้ง เดือน ต.ค. และ มี.ค. สอบได้เฉพาะ ม.6 เท่านั้น ซึ่ง
GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ยทั้ง 6 ภาคเรียน นำมาคิด 20% ตัวอย่างเช่น เกรดเฉลี่ย 4.00 คะแนนส่วนของ GPAX = 20% และถ้าเกรดเฉลี่ย 2.00 คะแนนส่วนของ GPAX = 10%
O-NET (Ordination National Education Test)เป็นการสอบวัดมาตรฐานการศึกษา ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้สมัครให้ คิดสัดส่วน 30 %โดยสอบทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ 6 วิชา คิดสัดส่วนวิชาละ 5% ดังต่อไปนี้
GAT = General Aptitude Test: 10-50% คือ ความถนัดทั่วไป ดังนี้
ลักษณะข้อสอบGAT จะเป็นปรนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน เวลาสอบ 3 ชั่วโมง และคะแนนจะใช้ได้ 2 ปี นับจากวันสอบ
PAT = Professional Academic Aptitude Test : 0-40% คือ ความถนัดเฉพาะทางวิชาชีพ แบ่งเป็นทั้งหมด 7 ชุด PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์ และ PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2 ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น บาลี อาหรับ เป็นต้น ซึ่งลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย คะแนนเต็มชุดละ 300 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง เก็บคะแนนไว้ใช้ได้ 2 ปี ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่าองค์ประกอบในการสอบมีอะไรบ้างแล้ว ก็ย่อมวางแผนในการอ่านหนังสือได้เป็นอย่างดี...
ทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งรูปแบบ และวิธีการของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในบ้านเรา ทั้งนี้ก็เพื่อการพัฒนาไปสู่คุณภาพและสิ่งที่ดีนั่นเอง...ฉะนั้นแล้ว มาเริ่มเตรียมความพร้อม ทำความเข้าใจ เพื่อสร้างอาวุธเตรียมไว้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกันดีกว่า...
องค์ประกอบและค่าน้ำหนัก Admissions 56 จะเป็นข้อมูลสำคัญ และมีประโยชน์ในการเตรียมตัว เพื่อให้ได้เปรียบมากขึ้น เพราะถ้ารู้ว่าคณะที่เราจะเข้ามีเกณฑ์การคัดเลือกอย่างไร ใช้คะแนนวิชาอะไรเท่าไหร่ วิชาไหนมีค่าน้ำหนักมากกว่ากัน และเมื่อเรารู้และเข้าใจข้อมูลแล้ว แน่นอน!เราก็จะมีแนวทางในการเตรียมตัว เพื่อเข้าเรียนในคณะนั้นๆ มากขึ้น โดยเราจะรู้ว่าต้องเลือกทุ่มเทให้วิชาไหนมากเป็นพิเศษ...
ทีนี้ มาดูว่าองค์ประกอบและค่าน้ำหนักสำหรับ Admissions 56 ว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง...
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
สรุปง่ายๆ คือ ถ้าจะเข้า คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต้องเน้น5 วิชา GAT ไทย 10% GAT อังกฤษ 10% ฟิสิกส์ 10% เคมี 10% ชีววิทยา 10% ถ้าจะเข้าคณะทันตฯ พยาบาลฯ ก็ต้องเน้น GAT ไทย 15% GAT อังกฤษ 15%ฟิสิกส์ 6.67% เคมี 6.67% ชีววิทยา 6.67% และคณะเภสัชฯ เน้น 3 วิชาในสัดส่วนที่เท่ากันคือฟิสิกส์13.3% เคมี 13.3% ชีววิทยา 13.3%
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์, PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์, PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
โดย วิทยาศาสตร์กายภาพ เน้น4 วิชา คือ GAT ไทย 5% GAT อังกฤษ 5% คณิตศาสตร์10% ฟิสิกส์ 10% เคมี 10% ชีววิทยา 10% เทคโนโลยีสารสนเทศเน้นคณิตศาสตร์20% ฟิสิกส์ 6.67% เคมี 6.67% ชีววิทยา 6.67% วิศวกรรมศาสตร์ เน้น 3 วิชา ได้แก่ GAT ไทย 7.5% GAT อังกฤษ 7.5% ฟิสิกส์ 5% เคมี 5% ชีววิทยา 5%ความถนัดทางวิศวกรรม20%และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เน้น 1 วิชา GAT ไทย 5% GAT อังกฤษ 5%ความถนัดทางสถาปัตยกรรม40%
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์, PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เกษตรเน้น4 วิชา GAT ไทย 5% GAT อังกฤษ 5% คณิตศาสตร์10% ฟิสิกส์ 10% เคมี 10% ชีววิทยา 10% บริหารคำนวณ เน้น 3 วิชา GAT ไทย 15% GAT อังกฤษ 15% คณิตศาสตร์20% บริหารภาษา เน้น 2 วิชาGAT ไทย 20-25% GAT อังกฤษ 20-25% ภาษา ตปท. 10% ครุศาสตร์ เน้น 3 วิชา GAT ไทย 10% GAT อังกฤษ 10% ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์30% GAT ไทย 5% GAT อังกฤษ 5% ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์20% ตปท. 20%
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์, PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
ศิลปกรรมเน้น1 วิชา GAT ไทย 5% GAT อังกฤษ 5% ความถนัดทางศิลปกรรม40% หรือสถาปัตย์ 40%สังคม มนุษย์ พื้นฐานวิทย์เน้น 3 วิชา GAT ไทย 15% GAT อังกฤษ 15% คณิตศาสตร์ 20% สังคม มนุษย์ พื้นฐานศิลป์ใช้ GAT ไทย 25% GAT อังกฤษ 25% หรือ GAT ไทย 15% GAT อังกฤษ 15% ภาษา ตปท. 20%
เพราะฉะนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับระบบ Admissions จะช่วยให้เราได้เปรียบมากขึ้น และเทคนิคสำหรับ Admissions สรุปง่ายๆ คือ อันดับแรกต้องเลือกคณะที่จะเข้า จากนั้นก็มาดูว่าคณะนั้นๆ ใช้วิชาอะไรในการสอบบ้าง และเน้นวิชาไหนบ้าง เมื่อรู้ว่าแต่ละคณะเน้นวิชาไหนมากน้อยอย่างไร ก็นำมาวางแผนในการอ่านหนังสือ โดยวิชาไหนที่เน้นมากเราก็ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ และสุดท้ายก็คือ การฝึกทำข้อสอบย้อนหลังอย่างน้อย 5 ปี
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและค่าน้ำหนัก Admission จะเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ และอาจจะสร้างความสับสนให้น้องๆ ไปบ้าง แต่ถ้าเราพร้อม และมีความรู้ความเข้าใจดีแล้ว จะอีกกี่ครั้งกับการเปลี่ยนแปลงก็คงไม่มีปัญหาอะไร...เอาใจช่วยทุกๆ คนนะคะ...
อ้างอิง:
- www.cuas.or.th
- www.eduzones.com
- ภารดี วงค์เขียว-ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็น