วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โควต้า วิทยาลัยนาโนฯ ลาดกระบัง 2556


โควต้า วิทยาลัยนาโนฯ ลาดกระบัง 2556


UploadImage



รับตรง วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี
สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณมหารลาดกระบัง 2556


คุณสมบัติ
- กำลังศึกษา ชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า สายวิทย์-คณิต
- GPAX 3.00 ขึ้นไป
- ได้รางวัลอันดับ 1-3 จากการประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมัธยมศึกษาระดับประเทศ หรือ ผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านนาโนเทคโนโลยี

กำหนดการ

UploadImage


วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Updateเพิ่มเติม 3 โครงการรับตรง ม.สงขลานครินทร์ 56


Updateเพิ่มเติม 3 โครงการรับตรง ม.สงขลานครินทร์ 56

UploadImage


โครงการ"ต้นศิลป์" สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ วิทยาเขตตรัง   
- กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ม.ปลาย หรือเทียบเท่า
- GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.50 (โรงเรียนเป็นผู้คัดเลือก)
- GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.25 (คณะฯเป็นผู้คัดเลือก)
- ค่าสมัคร 200บาท
- รับสมัคร ถึง 21 ธันวาคม 2555
 
--------------------------------------------------------------------------------
 
โควตานักเรียนในภาคใต้ สู่รั้วสงขลานครินทร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขา การจัดการการท่องเที่ยวในอุตสาหกรรมไมซ์  
-  กำลังศึกษาอยู่หรือสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือ ปวช. GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.00
- มีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับ B ขึ้นไป หรือเทียบเท่า
- มีผลการเรียนสูงสุด 10 % แรกของชั้นเรียน หรือสาขาฯ จะได้รับการพอจารณาเป็นพิเศษ

- ค่าสมัคร 200บาท
- รับสมัคร  1- 20 พฤษจิกายน 2555
 
--------------------------------------------------------------------------------
 
 
โครงการรับบุคคลที่มีความสามารถด้านกีฬาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประจำปีการศึกษา 2556 
- กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ม.ปลาย หรือเทียบเท่า
- GPAX ตามแต่ละสาขากำหนด (ตามไฟล์แนบ)
- เป็นนักกีฬาประเภทต่างๆ ที่เป็นกีฬาสากล (ยกเว้น จักรยาน แฮนด์บอล กาบัดดี้)
- เข้าร่วมการเเข่งขันกีฬาและได้รางวัลในระดับจังหวัดหรือระดับชาติ
- ค่าสมัคร 200บาท
- รับสมัคร 3 
พฤษจิกายน ถึง 2 ธันวาคม  2555
 
 
--------------------------------------------------------------------------------

 
เอกสารประกอบข่าว :

โควตาพิเศษสำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ม.เเม่ฟ้าหลวง 2556


โควตาพิเศษสำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ม.เเม่ฟ้าหลวง 2556

UploadImage

โครงการรับนักศึกษาผู้มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมเกษตร
ประจำปีการศึกษา 2556 (โควตาพิเศษสำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร)

คุณสมบัติของผู้สมัคร
- มีความสามารถศึกษาในระบบการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ 
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์เท่านั้น 
- ผู้ที่สมัครสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร  มี GPAX และ GPA  วิชาวิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 2.75  
- ผู้ที่สมัครสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลิตผลเกษตรและบรรจุ มีคะแนน GPAX และ GPA  วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาภาษาต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 2.50


กำหนดการ
รับสมัคร                                                  5 พฤศจิกายน 2555 ถึง 21 มกราคม 2556
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก               1 กุมภาพันธ์ 2556
ยืนยันสิทธิ์                                              1 กุมภาพันธ์ ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2556
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 
                     22 กุมภาพันธ์ 2556 


ค่าสมัคร 300 บาท
ค่ายืนยันสิทธฺ์ 6000 บาท



สมัครออนไลน์ได้ที่ : https://reg.mfu.ac.th/wregistrar/quotaai56.aspx




 

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สวนดุสิตรับรอบสอบคัดเลือกทุกหลักสูตร พร้อมรับตรงเด็กพิเศษ


สวนดุสิตรับรอบสอบคัดเลือกทุกหลักสูตร พร้อมรับตรงเด็กพิเศษ



UploadImage


มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2556 รอบสอบคัดเลือก ทุกหลักสูตร พร้อมเปิดรับหลักสูตรและสาขาที่เปิดรับเด็กพิเศษ ปีการศึกษา 2556อีกด้วย

สมัครทางทางอินเทอร์เน็ตที่ 


http://entrance.dusit.ac.th/recruit/normal_recruit.php

เริ่มรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึง 25 พฤศจิกายน 2555

สอบถามเพิ่มเติมที่โทรศัพท์

02-244-5555
02-244-5920-3

ข้อมูลการสมัคร



เปิดรับหลักสูตรและสาขาที่เปิดรับเด็กพิเศษ ปีการศึกษา 2556

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (ระดับเล็กน้อย-ระดับเชาวน์ปัญญา (IQ) ประมาณ 55-70)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา

ความพิการทางด้านสายตา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา

ความพิการทางด้านร่างกายที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เดินได้ หรือใช้เก้าอี้รถเข็น เช่นพิการ แขน ขา หรืออื่น ๆ ซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติ

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา

พิการทางหู

พิการทางตา

พิการทางแขน

พิการทางขา

อื่นๆตามความเหมาะสม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเคมี

ประเภทความพิการที่จะรับเข้าศึกษา

พิการทางการได้ยิน แต่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้

พิการทางการพูด

พิการทางสายตา โดยผ่านเกณฑ์การทดสอบของหลักสูตรเทคโนโลยีเคมี

พิการทางขา แต่สามารถใช้เครื่องช่วยอื่นๆ ในการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวได้ดี

พิการทางมือหรือแขน แต่สามารถแต่สามารถปฏิบัติงานในสายอาชีพในวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีเคมี

โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เปิดรับสมัครธ.ค.55นี้


โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เปิดรับสมัครธ.ค.55นี้


UploadImage

โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เปิดรับสมัครในหลักสูตร “เตรียมวิศวกรรมศาสตร์” เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน  สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้การจัดเรียนการสอนในระดับ ปวช. ปัจจุบันมี 3 สาขาวิชา  คือ เครื่องกล (โปรแกรมภาษาไทย)   ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (โปรแกรมภาษาไทย)  โยธา (โปรแกรมภาษาไทย)  และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ [โปรแกรมภาษาไทย ,(หลักสูตร English Program)]  โดยจะเปิดรับสมัคร นักเรียนสายสามัญ จะต้องเรียนเหมือนกัน คือ วิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ    โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ.เป็นการเรียนการสอนในหลักสูตร “เตรียมวิศวกรรมศาสตร์” ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้พัฒนาหลักสูตร ป.วช. เป็น“เตรียมวิศวกรรมศาสตร์”เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

    

UploadImage

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การจัดเรียนการสอนในระดับ ปวช.   ในช่วงที่ก่อตั้งสถาบันใหม่ๆ ภายใต้วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งการเรียนในสมัยนั้นเรียนฝึกปฏิบัติมากกว่าเรียนทฤษฎี  ภายหลังได้มีการปรับหลักสูตรให้มีศักยภาพสูงขึ้นโดยการทดลองใช้ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เรียนทฤษฎีน้อยกว่าปฏิบัติแต่เน้นการฝึกปฏิบัติมาก  เรียนปฏิบัติ สัปดาห์ละ 3 วัน ทฤษฎี 2 วัน คือ ปฏิบัติ 60%  เรียนทฤษฎี 40% จากนั้นปรับทฤษฎีมากขึ้น ปฏิบัติน้อยลงโดยเน้นทฤษฎี 50 ปฏิบัติ 50 เพื่อเน้นวิชาการในการ เรียนต่อระดับวิศวะ ที่มีสายปฏิบัติมีความชำนาญงาน  ควบคู่ไปกลับการ “สร้างคนสู่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง”

การเรียนการสอนทั้ง 3 สาขาวิชา  จะเป็นนักเรียนสายสามัญจะต้องเรียนเหมือนกันคือ วิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ   นอกจากนั้นเป็นวิชาเฉพาะทาง  เช่น นักศึกษา สาขาเครื่องกล เรียนพื้นฐานด้านเครื่องยนต์ ช่างกลโรง ช่างยนต์  เขียนแบบ  งานเชื่อม  สาขาไฟฟ้า เรียนวิชาเฉพาะไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่  สาขาโยธาเรียนด้านโยธา และงานไม้ ควบคู่กันคือหลักสูตรหลัก ใน 3 ปี  ซึ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ รับสมัครนักเรียน ม. 3  เข้าศึกษาต่อในระดับ ปวช.  เป็นการเรียนรู้พื้นฐาน ทางช่าง จัดบริการฝึกพื้นฐาน เนื่องจากนักศึกษามีพื้นฐานและทักษะที่แน่น  นักเรียนที่จบหลักสูตรเตรียมวิศวะมีความเข้มข้น เป็นที่ต้องการของตลาดสูง ตลอดจนสามารถเรียนต่อยอดไปจนถึงระดับปริญญาตรี  และมีความสามารถเชี่ยวเฉพาะทาง สามารถนำความรู้ตั้งแต่ต้นไปพัฒนาในการเรียนการสอนต่อไปให้มากขึ้นและผลเป็นที่น่าพอใจ
เมื่อปี 2546  ได้ทำโครงการจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน  โดยเสนอเรื่องขออนุมัติคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมฐานเทคโนโลยี   ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าควรคงชื่อเดิมไว้ คือ ไทย-เยอรมัน  จึงเป็นที่มาของโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน  ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546  ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน  จนกระทั่งวันที่ 30 ตุลาคม  2550  ได้เสนอเข้าวาระพิจารณาในคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดสร้างโรงเรียนเตรียมวิศวะ และได้รับการอนุมัติเงินงบประมาณ 160 กว่าล้านบาท

   
UploadImage


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน มจพ. สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการจัดการ เรียนการสอนระดับ ปวช. ตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมัน  และนักศึกษาของเราก็มีศักยภาพ  นักศึกษาที่รับเข้ามาเรียน ปวช.  ก็มีศักยภาพในการเรียนต่อวิศวค่อนข้างสูง  และเล็งเห็นว่าเมื่อจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเพื่อฝึกนักศึกษา ให้มีความชำนาญ และมีโอกาสในการศึกษาต่อระดับในระดับปริญญาตรี   อีกทั้งหลักสูตรของการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิศวะ มีวิชาพื้นฐานทางวิศวะที่มีความสำคัญแก่นักเรียนที่จบ ม. 6 สายสามัญไม่ได้เรียนบางวิชามา เช่น วิชาเขียนแบบ วิชาพื้นฐานทางช่าง  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเรียนต่อในระดับปริญญาตรี  นักเรียนที่จบ ม. 6 บางคนไม่ได้เรียนมา  บางคนไม่มีความถนัด มาสายทางปฏิบัติ  หรือที่เราเรียกว่าวิศวะสายปฏิบัติหรือ Partical  Engineer ยังดำเนินการอยู่ แต่หลักสูตร ปวช. อาจจะไม่ตรงสายเท่าไหร่ เช่น วิศวฯ   สาขาออกแบบเครื่องกล ออกแบบเครื่องพิมพ์ ซึ่งนักเรียนควรมีพื้นฐานทักษะการใช้ เครื่องมือ เครื่องจักร เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญการทำแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การจัดหลักสูตรนี้จึงเป็นการตอบสนอง ความต้องการเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมเพื่อศึกษาต่อยังคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้

มจพ. ใช้รูปแบบที่เน้นนักศึกษาที่จะเรียนต่อระดับสูงทาง Partical Engineer ให้มีพื้นฐานปฏิบัติมากขึ้นเน้นการใช้เครื่องจักร    โดยที่นักเรียน ระดับ ปวส. เรียนทุกสาขา ทั้ง ช่างยนต์ ช่างเชื่อม เรียนเหมือนกันหมด อีกสาขาหนึ่งที่เน้นเฉพาะทางและจะเปิดสอน คือ สาขายานยนต์ ที่มุ่งเน้นให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งละสถาบันการศึกษาจะแข่งขันกันค่อนข้างสูง

เมื่อย้อนไปปี 2551  นักศึกษาได้ความสนใจมากและในปีนี้มีโรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ สำหรับ ปวช. ให้ทันสมัยโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น การเขียนแบบเมื่อก่อนใช้มือวาดบนกระดาษ ต่อมาใช้คอมพิวเตอร์ สาขางานเชื่อมเมื่อก่อนเชื่อมแก๊ส ไฟฟ้า ปัจจุบันมีการใช้ระบบเครื่องเชื่อมอัตโนมัติ

สำหรับการ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดสอบตรงในช่วงเดือนธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์ ทุกๆ ปี เป็นการรับนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยดำเนินการรับสมัครเอง โดยสมัครผ่านระบบการรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ มีรายละเอียดดังนี้

1. การรับตรงสอบข้อเขียน เปิดรับสมัครทั้งโครงการปกติ และโครงการสมทบพิเศษ รับผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับ ม.3

2. ซื้อระเบียบการรับสมัครประมาณ เดือน ธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

3. มหาวิทยาลัยได้จัดส่งโปสเตอร์การประชาสัมพันธ์ไปยัง งานแนะแนวให้แก่โรงเรียนสายสามัญตั้งแต่ ม. 1- ม. 6 เพื่อประชาสัมพันธ์ไปล่วงหน้า
  

UploadImage

สอบถามข้อมูลได้ที่ โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน  

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  1518 ถ.ประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ  10800  โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 6111, 6236,6245 หรือ งานประชาสัมพันธ์ หรือ หน่วยรับสมัครนักศึกษาใหม่ โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ  1626,1627 และ www.kmutnb.ac.th