วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนะแนวระบบ รับตรง,Clearing House,Admissions 2556


แนะแนวระบบ รับตรง,Clearing House,Admissions 2556


หลายคนยังงงงวย  เอ๋ะ !!  เราจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังไง นิ
มันสอบยังไง สอบตรงเมื่อไร  Clearing House  คืออะไร    7 วิชาสามัญคืออะไร !!??
เรามารู้จักกับระบบ คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 กันเลยจ้า
ปล.  ระบบมันเปลี่ยนแปลงทุกปี ยังไงก็มั่นอัพเดทข้อมูล ^__^

เมื่อเข้าชั้น ม.6 หรือเด็กจะซิ่ว โดยน้องๆจะต้องพบกับการสอบคัดเลือก ดังนี้
1 สอบ รับตรง โควตา  : เป็นการจัดสอบตรงเองโดยมหาวิทยาลัย รายละเอียดต่างมหาวิทยาลัยจะเป็นคนกำหนดเองจ้า ว่าต้องสอบวิชาอะไรบ้างช่วงไหนบ้างแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นคนกำหนดเอง
2 สอบ 7 วิชาสามัญ  : เป็นการจัดสอบโดยสทศ ทั้งหมด 7 วิชาได้แก่ ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ  โดยคะแนนสามารถใช้ได้แค่ปีนั้น ๆ ไม่สามารถเก็บไปใช้ปีอื่นได้จ้า  สอบช่วงเดือน มกราคมของทุกปี
3 สอบ  GAT-PAT  : จัดสอบโดยสทศ ปีละ 2 ครั้ง  คะแนนสามารถเก็บไว้ได้ 2 ปี สอบเดือน ตุลาคม และ มีนาคม ของทุกปี ( ถ้าน้ำไม่ท่วมก็คงจะสอบเวลานี้ )  
4 สอบ  O-NET : จัดสอบ ปีละ 1 ครั้ง เดือน กุมภาพันธ์ของทุกปี สอบได้ครั้งเดียวตลอดชีวิต นำคะแนนไปใช้ได้ตลอดกาล

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 หลัก ๆ จะมี 2 วิธีดังนี้
 รับตรง โควตา โดยใช้ผลของคะแนน รับตรง โควตา + 7 วิชาสามัญ GAT-PAT + O-NET + GPAX
 Admsisions กลาง โดยใช้ผลของคะแนน  GAT-PAT + O-NET + GPAX  
รับตรงของแต่ละสถาบันจะเป็นคนกำหนดสัดส่วนการใช้คะแนนนะครับ เช่น
มศว อาจจะสอบตรง 100 %
จุฬา คณะวิศวะใช้  GPAX+ GAT+ PAT1 + PAT3
จุฬา คณะอักษรศษสตร์  GPAX +PAT7 + 7 วิชาสามัญ :ไทย สังคม อังกฤษ
มหิดล  7 วิชาสามัญ : ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
อันนี้เป็นตัวอย่างนะครับ เวลาสมัครก็ให้เราไปอ่านระเบียบการของแต่ละสถาบัน แต่ละคณะว่าใช้เกณฑ์คะแนนอะไรบ้างในการคัดเลือก แล้วเราจะได้ลงสอบ วิชานั้น ๆ  ไม่จำเป็นต้องสอบทุกวิชา

ขั้นตอนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาประจำปีการศึกษา 2556 
อ้างอิงจาก http://www.cuas.or.th/quota/document/adm55_flowchart.pdf กดขยายรูปได้จ้า
 
ระบบ  Clearing House 
หลังจากได้ดูกราฟแล้วหลายคนอาจจะงง ๆ นิด ๆ แต่สรุป คือ ระบบ Clearing house  คือระบบยืนยันสิทธ์รับตรง  เช่น  นาย A สอบติดทั้ง จุฬา มหิดล ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น ศิลปากร มศว   โอ๋ บระเจ้าช่วยกล้วยทอด  นาย A สอบตั้งหลายมหาวิทยาลัย แนะสุดยอดไปเลย  แต่ ระบบ    จะทำให้นาย A เลือกได้เพียงมหาวิทยาลัยเดียวเท่านั้น จ้า
ระบบนี้ข้อดีคือ  จะได้ทราบว่า แต่ละมหาวิทยาลัยเหลือที่ว่างจริง ๆ เท่าไร  เพราะหลังจากเสร็จรับตรงแล้วแต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะส่งข้อมูลว่าเหลือที่ว่างเท่าไร จะได้นำที่ว่างนี้ไปคัดเลือกใน ระบบ Admissions กลางต่อไปจ้า
ปล ข้อดีอีกข้อคือ บางคนติดหลายที่ และ ไปยืนยันสิทธ์หลายที่ทำให้เสียเงินเยอะมาก  แต่พอมีระบบนี้ขึ้นมาจะช่วยให้เราประหยัดเงินไปได้เยอะ
โดยระบบ Clearing House จะให้นักเรียนยืนยันสิทธ์ประมาณช่วงเดือน มีนาคมครับ

รับตรง Clearing House   !!?
ตอบ  มหาวิทยาลัย หลายแห่งใช้ ชื่อโครงการว่ารับตรงว่า    รับตรง Clearing House    สรุปแล้วมันคือชื่อโครงการรับตรงของแต่ละมหาวิทยาลัยนะครับ  การตั้งชื่อโครงการแบบนี้อาจจะทำให้หลายคนสับสน  รูปตัวอย่างผมนำมาจากรับตรงของ บางมดนะครับ
ปล เมื่อก่อนจะมีหลายมหาวิทยาลัยตั้งชื่อแบบนี้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนชื่อเพื่อให้ไม่สับสนแล้วครับ



มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบ Clearing House

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)  
หลังจากที่น้อง ๆยื่นยันสิทธ์แล้ว ก็จะถูกส่งชื่อเพื่อตัดสิทธ์ Admissions กลางนะครับ

มหาวิทยาลัยที่ส่งรายชื่อตัดสิทธ์ Admissions 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยพะเยา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
 
แม้บางมหาวิทยาลัยจะไม่ได้เข้าร่วม Clearing House
แต่ก็ส่งรายชื่อเพื่อตัด Admissions กลางนะครับ
 


ทปอ ประกาศปรับน้ำหนัก Admissions  2556
ทุกกลุ่มสาระ ยังคง GPAX 20% และ O-NET 30%

กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ปรับ คือ
สัตวแพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา GAT 20% PAT2 30%
เภสัชศาสตร์ ,GAT 10% และPAT2 40%
ทันตแพทย์/ พยาบาลเหมือนเดิม คือ  GAT 30%   PAT2 20%
สรุป  ที่เปลี่ยนไปมีเพียง เภสัชศาสตร์   จาก  GAT 20% PAT2 30%  เป็น  GAT10%  PAT2 40% 

กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ปรับสาขา วิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ  GAT 10% ,PAT1  10% และPAT2 30%
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  GAT 10% ,PAT1 20% และ PAT2 20%
สรุป ที่เปลี่ยนไปมีเพียง สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  จาก   GAT 10% ,PAT1  10% และPAT2 30% เป็น GAT 10% ,PAT1 20% และ PAT2 20%

กลุ่มที่ 3 วิศวกรรมศาสตร์  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ใช้  GAT 15%, PAT2 15% , PAT 3 20%

ปล. สำหรับผมกลุ่มนี้ก็น่าปรับน้ำหนักนะครับ 

กลุ่มที่ 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์   ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ใช้ GAT 10%  PAT4  40%

กลุ่มที่ 5 เกษตรศาสตร์ ปรับสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร  GAT 10% และPAT1 10% และPAT2 30%
สรุป  มีการปรับน้ำหนักจาก  GAT 20% PAT1 10%  PAT2 20%   น่าจะทำให้คะแนนแอดปีนี้ ลดลงจ้า

กลุ่มที่ 6 พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี เศรษฐศาสตร์ การท่องเทียว  ไม่มีการปรับน้ำหนัก
- พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์  GAT 30% PAT1  20%
- ท่องเทียว รูปแบบ 1  GAT 50 %
- ท่องเทียว รูปแบบ 2  GAT 40%   PAT7   10%


กลุ่มที่ 7 ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขภาพ รูปแบบที่ 1 GPAX 20%, O-NET 30% ,GAT 20% และPAT5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% ,GAT 10% และPAT5 20% และต้องเลือกสอบ PAT 1/2/3/4/6/7 วิชาใดก็ได้ 1 วิชา 20%
สรุป  กลุ่มนี้ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากปีก่อน  ใช้ GAT20% PAT5 30% ทุกคณะเลยครับ 
โดยเฉพาะให้มีการเลือกสอบ PAT  วิชาใดก็ได้ แบบนี้จะวัดเด็กได้ตรงความต้องการของสาขาหรอ >.<  

กลุ่มที่ 8 ศิลปกรรมศาสตร์ ปรับ สาขา วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ดุริยางศิลป์ นาฎศิลป์ ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม GPAX 20% , O-NET 30%, GAT 10% และเลือกสอบPAT4 หรือ 6 เพียง 1 วิชา 40%
สรุป ปีก่อนใช้ได้แค่ PAT6 เท่านั้นนะครับ แต่ปี 56 นี้ใช้ PAT4  ได้ด้วย หุหุ 
 

กลุ่มที่ 9 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์   GAT 30% และPAT1 20%
พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ไม่มีการปรับเปลี่ยน  ( ใช้ GAT 50% )

พื้นฐานศิลปศาสตร์รูปแบบที่  2  GAT 30% และPAT7 20%
สรุป อันนี้ถือว่าเป็นการกระทบต่อเด็กสายศิลป์ อย่างมากนะครับ  เพราะเมื่อก่อนใช้  GAT 40%  PAT1  10%  แต่ปรับเป็น  GAT 30% PAT1 20%  การปรัแบบนี้ทำให้เด็กสายศิลป์ เสียเปรียบสายวิทย์เต็ม ๆ  ขอให้น้องสายศิลป์ เตรียมฟิต คณิตศาสตร์ให้ดี  !!!!


 
ปฎิทิน Admissions รับตรง

ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ว่าเราต้องสอบช่วงไหนบ้าง
ปล สอบ Midterm และ Final ของแต่ รร ไม่เหมือนกัน
ปล สอบตรง แต่ละปีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างปี 55 เลื่่อนเพราะน้ำท่วม
ปล GAT-PAT รอบแรก สำคัญมาก  เพราะใช้ในการยื่นรับตรง
กรกฎาคม
สอบ  วิชาเฉพาะ ของจุฬาฯ
รับสมัครสอบ GAT-PAT 1/2556
สิงหาคม
สอบตรง แพทย์ มข
รับสมัคร แพทย์ กสพท
กันยายน
สอบตรง  มศว
ตุลาคม
สอบ GAT-PAT
สอบตรง  กสพท  วิชาเฉพาะ
สอบตรง   ศิลปากร
พฤศจิกายน 
สอบตรง  มหิดล
สอบตรง  ธรรมศาสตร์
สอบตรง  พระจอมเกล้าธนบุรี
สอบตรง   ลาดกระบัง หลายคณะ
สอบตรง   มอ หลายคณะ
สอบตรง  ขอนแก่น
 
ธันวาคม
สอบตรง เชียงใหม่
รับสมัครสอบ GAT-PAT  2/2556
 
มกราคม
สอบ   7 วิชาสามัญ
กุมภาพันธ์
สอบ O-NET
มีนาคม
สอบ  GAT-PAT 2/2556
เมษายน 
รับสมัครแอดมิชชั่น 2554
พฤษภาคม
ประกาศผลแอดมิชชั่น
รับตรงรอบหลังแอดมิชชั่น บางคณะ บางมหาวิทยาลัย
 สำหรับ เกษตรศาสตร์ แต่ละหลายคณะก็สอบเข้านะครับ เช่น ประมง สถาปัตย์ เกษตร วิทยาศาสตร์    วิศวะยื่นคะแนน gat-pat ครับผม

สรุป เดือน
สิงหาคม-กันยายน   จะเป็นเดือนแห่งการสมัคร  ช่วงนี้ควรจะเข้าเว็บไซต์เพื่อเชคข่าวทุกวัน
ตุลาคม-พฤศจิกายน  จะเป็นเดือนแห่งการสอบข้อเขียน
กุมภาพันธ์-มีนาคม จะเป็นเดือนแห่งการสอบสำหรับคนไม่ติดรับตรง T__T
และเดือน พฤษภาคม  เป็นเดือนที่หลายคนดีใจและเสียใจในการประกาศผลแอดมิชชั่น


กสพท 2556

ระเบียบการเก่าของปี 2555  ให้ใช้ดูอ้างอิงได้เลยครับ
รับสมัครช่วง เดือน  สิงหาคม  ถึง ต้นเดือนกันยายน
ใช้เกรฑ์  วิชาเฉพาะ แพทย์ กสพท  30 % + วิชา สามัญ 70 %
ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ยากใกล้เคียงกับ O-NET

การเตรียมตัวอ่านหนังสือด้วยตัวเอง
7วิชารับตรง

- ฟิสิกส์ ยอมรับว่าชีทเรียน(หนังสือก้ได้) ขอออนดิมานเป๊ะม๊ากมาก !
- สังคม   ของที่ดาว๊อง (ไม่ได้เรียนนะแต่เพื่อนเปิดให้ดูเป๊ะมาก ) คอร์สเทอร์โบ เป๊ะสุด ๆ แล้วก็ของจารย์ชัย   เล่มนี้ก็ตรงนะ
- ชีวะ ก็ต้องแน่นอน ของพี่เตนท์เล่มสีน้ำเงิน ๆ 100ข้อทำให้ทันละ :)
- เคมี ก็แน่นอนต้องติวเตอร์พ้อย เล่มสวย ๆ มีตารางธาตุด้วย คุ้มค่าจริง ๆ แต่อ่านควบคู่กับของ hied ยิ่งดีเลย ;]
- คณิต วิชานี้แทบไม่ได้อ่าน 5555  แต่ก็อ่านนิดหน่อย เป็นของเดอะ ติวเตอร์ เล่มสีดำ สรุปสูตร
- ภาษาไทย  ไม่ต้องอ่านเพราะวิเคราะห์ ไม่มีหลักภาษาเลย
-อังกฤษ   ศัพท์ยาก พาสเสดยาว  ต้องอ่านของ CU-TEP ( เห็นเพื่อนซื้อ) เพราะพาสเสดมันยาว น่าเอาไปฝึก ๆ อย่าลืม ทำเเข่งกับเวลาด้วยนะ สำคัญ *

O-net

- สังคม อ่านของอาจารย์ชัย เล่มสีแดงเป็นแบบฝึกหัด ก็โอเคดีนะ แนะนำ ๆ
- ไทย  อ่านมินิบุ๊คของดาว๊อง ( ยืมเพื่อนซีร็อคมา >< )  อ่านแล้วสรุปทำให้ดูง่ายขึ้น
-อังกฤษ  ทำข้อสอบเก่า ๆ จับหลัก ๆ
- คณิต  ตะเวนติว แล้วก็จำสูตรหลัก ๆที่ต้องใช้บ่อย ๆ แล้วก็อย่าลืม ทำข้อสอบเก่า ๆ แนะนำ**
- วิทยาศาสตร์  เล่มนี้เลย ตอนนี้ก็กำลังอ่านอยู่ Hied สรุปรวบยอดเล่มสีน้ำเงินขาว  แล้วก็หนังสือพื้นฐานทั้ง 3 เล่มนี่ก็ห้ามพลาด หลักเลย !!
- สุขฯการงานฯศิลปฯ  ทำข้อสอบเก่า 3 พศ เล่มสีเหลืองของ The book ทำแล้วดูเฉลย ได้ความรู้เพิ่มเติมมาก โดยไม่ต้องอ่าน

GATPAT

- GAT ทำข้อสอบเก่า ท่องศัพท์เยอะ ๆ
-PAT2  แนะนำสุด ๆ (พึ่งมาเจอหลังสอบรอบแรกเสร็จแล้ว)   เล่มสีเขียวของแม๊ก  เก็งข้อสอบแพท2 !!   วิเคราะห์คล้าย ๆ กับแพทรอบแรกเลย  
> ฟิสิกส์  อ่านของออนดิมาน+คัมภีร์ฟิสิกส์ของพศพัฒนา + ทำข้อสอบเก่า
>ชีวะ  ชีวะ 15 พศของพศพัฒนา + อ่านหนังสือของพี่เตนท์
>เคมี อ่านหนังสือของเคมีติวเตอร์พ้อย แล้วก็ทบทวน + ทำข้อสอบเก่า ๆ



สุดท้ายก็ สู้ตายสู้ตาย :)

เพิ่มเติมจากบอร์ดเราเอง




















แนะนำให้เข้าอ่านต่อ  http://unigang.com/Article/10051

image
รับตรุง จุฬา  เว็บไซต์หลัก
จุฬาจะแบ่งการรับ เป็น 3 แบบ 
1 รับตรงแบบปกติ  นะโดย จะใช้คะแนน GAT-PAT และ 7 วิชาสามัญ ไม่ใช้ GPAX
สำหรับคณะวิทยาศาสตร์จะให้เลือกใช้ 7 วิชาสามัญ หรือสอบ CU-Science  แนะนำให้สอบ CU-Science ข้อสอบง่ายกว่าและสามารถสอบได้หลายครั้ง 
โดยรับตรง แบบปกตินี้ จะเป็นการเลือก แบบ 4 อันดับ เหมือนระบบแอดกลางเลยนะครับ 
2 รับตรงแบบพิเศษ   มีการกำหนดกฎต่างๆ เช่นเป็นเด็กกิจกรรม เป็นเด็กโอลิมปิก ที่คนสนใจกันเยอะ คือ จุฬาชนบท และ  สอบตรง แพทย์ชนบทจ้า ( รับสมัครช่วงเดือน  สิ่งหา ถึงกันยายน ) เว็บหลักคือ http://acad.md.chula.ac.th/  
 แนะนำเข้าอ่าน  http://unigang.com/Article/7115   เพิ่มเติม จ้า
3 รับตรง นานาชาติ อันนแนะนำก่อนเลย ให้ลงสอบ  พวก  Cu-TEp   CU-AA  CU-Sci  แล้วแต่คณะและสาขาที่น้อง จะเข้าครับ  และยังใช้ คะแนน  TOEFL  IELTS  ( แต่พวกนี้แพงมาก แนะนำให้สอบ CU-TEP )http://www.atc.chula.ac.th
ระเบียบการของปีก่อน   ระเบียบการตัวจริงจะออกประมาณ เมษายน- พฤษภาคม นะครับ


image
มหาวิทยาลัย มหิดล
ระบบโควตาเพื่อชาวชนบท
โดยจะเป็นโครงการ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบทและโครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน และโครงการผลิตทันตแพทย์เพื่อชาวชนบท โดยทางมหิดลจะจัดสอบเองนะครับ  รับสมัครช่วง สิงหาคม ถึงตุลาคม
ระบบโควตา
โดยโครงการในระบบโควตานี้จะมีเยอะมากเลยครับ เช่นโควตาพื้นที่  โควตาวิทยาเขต โควตาโครงการพิเศษ โควตาโอลิมปิกวิชาการ แต่ที่ทุกคนสามารถสมัครก็คือ โควตาโครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ โดยเป็นโครงการที่ส่งเสริมและขยายโอกาสให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนทั่วประเทศที่มีความมุ่งมั่นและสนใจจะเข้าศึกษาในคณะที่เลือกสมัครอย่างแท้จริง ทั้งนี้จะต้องมีในศักยภาพในสาขานั้น เพื่อจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ มี 30หลักสูตร จำนวนรับ 1,๐81 คน   แต่ว่าโครงการนี้จะกำหนด gpax ขั้นต่ำในการสมัครนะครับ รับสมัครสิงหาคมถึงตุลาคม  
สำหรับระบบโควตานี้ น้องๆต้องสอบ 7 วิชาสามัญที่จัดสอบโดยสทศ ช่วงเดือนมกราคม ของทุกปีครับ
ระบบรับตรงโดยคณะ
ทางคณะจะดำเนินการรับสมัครเอง  เช่น  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  ,  คณิตศาสตร์ประกันภัยภาคภาษาอังกฤษ , วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล MUIC , วิทยาลัยศาสนศึกษา , วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
แนะนำให้เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mahidol.ac.th/quota2012/index.html


image
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โครงการรับตรง
โดยโครงการนี้จะเป็นโครงการที่คนส่วนใหญ่สามารถสมัครได้นะครับ โดยจะมีคณะดังๆเปิดรับเกือบทุกคณะจ้า
• การคัดเลือกโดยใช้คะแนนจากการสอบข้อสอบกลางของ สทศ.
1) GAT PAT ได้แก่
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (PAT1 , PAT3)
คณะทันตแพทยศาสตร์ (GAT , PAT1 , PAT2)
คณะพยาบาลศาสตร์ (GAT , PAT2)
2) วิชาสามัญใด ๆ ใน 7 วิชา ได้แก่
คณะสหเวชศาสตร์ (ใช้ 6 วิชา ภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และ
ฟิสิกส์) และคะแนน GAT , PAT2 ประกอบการสัมภาษณ์แต่ไม่ใช้ในการคัดเลือก

• การคัดเลือกโดยการจัดสอบเอง และ GAT/PAT ได้แก่
คณะนิติศาสตร์ (GAT)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฉพาะสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (GAT , PAT1 , PAT2)
คณะศิลปกรรมศาสตร์
• สาขาวิชาการละคอน (GAT)
• สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ (GAT , PAT6)

• การคัดเลือกโดยการจัดสอบเอง ได้แก่

คณะรัฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
คณะสาธารณสุขศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาตสิรินธร (หลักสูตรนานาชาติ)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
• การคัดเลือกโดยการใชค้ ะแนน Smart-I ได้แก่ คณะพาณชิยศาสตร์และการบัญชี 
SMART ระดับปริญญาตรี (SMART-I)
กำหนดการสอบ                                              สมัครสอบคลิ้กที่นี่
ครั้งที่สนามสอบรับสมัครวันสอบ
1/2555มธ.รังสิต27 ก.พ. - 4 มี.ค. 5518 มี.ค. 55
2/2555มธ.รังสิต2 เม.ย. - 9 เม.ย. 5529 เม.ย. 55
3/2555มธ.รังสิต30 เม.ย. - 7 พ.ค. 5520 พ.ค. 55
4/2555มธ.รังสิต28 พ.ค. - 4 มิ.ย. 5517 มิ.ย. 55
5/2555มธ.รังสิต2 ก.ค. - 8 ก.ค. 5522 ก.ค. 55
6/2555สุราษฎร์ฯ23 ก.ค. - 29 ก.ค. 5519 ส.ค. 55
7/2555ขอนแก่น23 ก.ค. - 29 ก.ค. 5526 ส.ค. 55
8/2555เชียงใหม่23 ก.ค. - 29 ก.ค. 552 ก.ย. 55
9/2555มธ.รังสิต27 ส.ค. - 2 ก.ย. 5516 ก.ย. 55
10/2555มธ.รังสิต29 ต.ค. - 4 พ.ย. 5518 พ.ย. 55
11/2555มธ.รังสิต3 ธ.ค. - 10 ธ.ค. 5523 ธ.ค. 55

ตัวอย่างข้อสอบเกณฑ์รับตรงฯ    เกณฑ์ BBA
ตารางแจกแจงคะแนน


รายละเอียดพวกเกณฑ์การับสมัครอื่นๆ ลองโหลดระเบียบการปีก่อนนะครับ  http://web4.reg.tu.ac.th/registrar/_link/_4_admission/2555/BA/55_direct_all.pdf
โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
โครงการชนบท / ในเขตเมือง สำหรับน้องๆที่มีฐานะยากจน จะมีทุนให้ด้วย
โครงการ  มหาดไทย จัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการ สอวน
โครงการ  CPIRD - ODOD
เข้าไปอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์หลักเลยจ้า  http://web4.reg.tu.ac.th/registrar/home.asp

รับตรงดำเนินการโดยคณะ
จะมีโครงการที่ดำเนินการจัดการสอนด้วยตัวเองเช่น
โครงการวิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ  
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์
โครงการรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์
โครงการคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรการวิจัยทางสังคม
โดยโครงการเหล่ามีการบริหารกเรียนการสอนด้วยตัวเองไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ดังนั้นค่าเทอมอาจจะแพงกว่าปกติถึง 2 เท่า ก็พอพอกับเรียนเอกชนเลยครับ  แต่ข้อแตกต่างคือยังสอนโดยคณะจารย์ส่วนใหญ่จากธรรมศาสตร์ นะครับ


ประกาศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต ระดับปริญญาตรี (สอบตรง) ประจำปีการศึกษา 2556 ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม - 24 กรกฎาคม 2555 
หน้าเว็บไซต์หลัก http://admission.swu.ac.th/
ปล รายระเอียดยังอื่น ๆยังไม่มา   ดังนั้นขอนำระเบียบการปี 2555 มาให้ชมก่อน
แนะนำและเทคนิคการทำข้อสอบ  http://www.unigang.com/Article/7362

บทความยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากอู้  เดียวจะกลับมาแต่งต่อ จ้า  ถ้าผิดตรงไหนทักท้วงได้ครับ 

หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


ข้อมูลเอกสารสอบโควตา
1. โควตาระดับปริญญาตรี 4ปี และ 5ปี
     1. ประกาศการรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประเภทโควตา
จากนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศีกษา 2555
     2. ใบสมัคร ระดับปริญญาตรี 4 ปี และ 5 ปี ประเภทรับทุนตามโครงการเพชรราชภัฏราชสีมา
     3. ใบสมัคร ระดับปริญญาตรี 4 ปี และ 5 ปี ประเภทเรียนดี
     4. ใบสมัคร ระดับปริญญาตรี 4 ปี และ 5 ปี ประเภทกิจกรรมดีเด่น
     5. ใบสมัคร ระดับปริญญาตรี 4 ปี และ 5 ปี ประเภทพิเศษ(ฐานะทางครอบครัวยากจน)
     6. หนังสือรับรองคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับความเป็นครู (สำหรับผู้สทัครคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต)
     7. รายชื่อนักเรียนที่ชำระเงินค่าสมัครและจัดส่งทางไปรษณีย์
 
2. โควตาระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
     1. ประกาศการรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ประเภทโควตา
จากนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิขาขีพชั้นสูง(ปวส.)
         ประจำปีการศีกษา 2555
     2. ใบสมัคร ระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรเทียบโอน ประเภทเรียนดี
     3. ใบสมัคร ระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรเทียบโอน ประเภทกิจกรรมดีเด่น
     4. รายชื่อนักเรียนที่ชำระเงินค่าสมัครและจัดส่งทางไปรษณีย์
 
 
หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2555
ภาคปกติ
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 5 ปี
  • คณิตศาสตร์
  • ภาษาอังกฤษ
  • การศึกษาปฐมวัย
  • ภาษาไทย
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • การศึกษาพิเศษ – ภาษาไทย (เอกคู่)
  • ดนตรีศึกษา
  • นาฏศิลป์ไทย
  • ศิลปศึกษา
  • สังคมศึกษา
  • เคมี
  • ฟิสิกส์
  • ชีววิทยา
  • คอมพิวเตอร์ศึกษา
  • พลศึกษา
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา – คอมพิวเตอร์ศึกษา (เอกคู่)
  • พุทธศาสนศึกษา
  • จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว – ภาษาไทย (เอกคู่)
  • อุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • เคมี
  • ฟิสิกส์
  • เกษตรศาสตร์
  • คหกรรมศาสตร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • ภูมิสารสนเทศ
  • วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • ชีววิทยา
  • เทคนิคการสัตวแพทย์
  • สถิติประยุกต์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • สาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ภาษาญี่ปุ่น
  • ภาษาจีน
  • สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  • การจัดการโรงแรม
  • การพัฒนาสังคม
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • การจัดการโรงแรม

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • นิติศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • รัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • ออกแบบนิเทศศิลป์
  • ทัศนศิลป์

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 5 ปี
  • สถาปัตยกรรม

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  • ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีก่อสร้าง
  • การจัดการอุตสาหกรรม
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีก่อสร้าง
  • การจัดการอุตสาหกรรม
      ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
  • เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ร่วมสมัย
  • สื่อสารการข่าวและการบันเทิง

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • การจัดการ
  • การตลาด
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การเงินและการธนาคาร
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • การจัดการ
  • การตลาด

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) 
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • เศรษฐศาสตร์

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • การบัญชี
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • การบัญชี
--------------------------------------------------------------

ภาคการศึกษาเพื่อปวงชน รุ่นที่ 16 (กศ.ปช.) 

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 5 ปี
  • คณิตศาสตร์
  • ภาษาอังกฤษ
  • การศึกษาปฐมวัย
  • ภาษาไทย
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • การศึกษาพิเศษ – ภาษาไทย (เอกคู่)
  • ดนตรีศึกษา
  • นาฏศิลป์ไทย
  • ศิลปศึกษา
  • สังคมศึกษา
  • เคมี
  • ฟิสิกส์
  • คอมพิวเตอร์ศึกษา
  • พลศึกษา
  • พุทธศาสนศึกษา
  • จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว-ภาษาไทย (เอกคู่)
  • อุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • เกษตรศาสตร์
  • คหกรรมศาสตร์
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
  • เทคนิคการสัตวแพทย์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • สาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • ภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ภาษาญี่ปุ่น
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  • การจัดการโรงแรม
  • การพัฒนาสังคม
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • การจัดการโรงแรม

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • นิติศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • รัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • ออกแบบนิเทศศิลป์
  • ทัศนศิลป์

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  • ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีก่อสร้าง
  • การจัดการอุตสาหกรรม
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • เทคโนโลยีก่อสร้าง
  • การจัดการอุตสาหกรรม
      ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
  • เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ร่วมสมัย
  • สื่อสารการข่าวและการบันเทิง

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • การจัดการ
  • การตลาด
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การเงินและการธนาคาร
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • การจัดการ
  • การตลาด
  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • การเงินและการธนาคาร

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) 
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • เศรษฐศาสตร์

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
      ระดับปริญญาตรี 4 ปี
  • การบัญชี
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน)
  • การบัญชี
--------------------------------------------------------------

ศูนย์บริการการศึกษาอำเภอปากช่อง
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) 
      ระดับปริญญาตรี (เทียบโอน) 
  • การจัดการ

หมายเหตุ : อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายหลังตามประกาศของมหาวิทยาลัย